ข้อมูลทั่วไปโรงพยาบาลแม่สะเรียง
ข้อมูลทั่วไปโรงพยาบาลแม่สะเรียง
เครือข่ายสถานบริการสุขภาพแม่สะเรียง
ประกอบด้วย
สถานบริการหลัก : โรงพยาบาลแม่สะเรียง
เครือข่ายสถานบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 11 แห่ง
ปิรามิดประชากร
รวม 47,666 คน แบ่งเป็น
ชาย = 23,926 หญิง = 23,740
บุคลากรสาธารณสุขในเครือข่ายสถานบริการสุขภาพแม่สะเรียง
อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สะเรียง
ตำแหน่ง | จำนวน (คน) |
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สะเรียง | |
- สาธารณสุขอำเภอ (ข้าราชการ) | 1 |
- นักวิชาการสาธารณสุข (ข้าราชการ) | 5 |
- นักวิชาการการเงินและบัญชี (พนักงานราชการ) | 1 |
- เจ้าพนักงานสาธารณสุข (ข้าราชการ) | 1 |
- นักวิชาการสาธารณสุข (ลูกจ้างชั่วคราว) | 1 |
รวม | 9 |
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | |
- นักวิชาการสาธารณสุข ข้าราชการ ลูกจ้างเงินบำรุงโรงพยาบาล |
10 2 |
- พยาบาลวิชาชีพ (ข้าราชการ) - พยาบาลวิชาชีพ (ลูกจ้างเงินบำรุงโรงพยาบาล) |
11 2 |
- เจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้าราชการ ลูกจ้างเงินบำรุงโรงพยาบาล |
17 2 |
- เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ข้าราชการ ลูกจ้างเงินบำรุงโรงพยาบาล |
2 1 |
- พนักงานสุขภาพชุมชน (ลูกจ้างประจำ) - แพทย์แผนไทย (ลูกจ้าง) |
1 1 |
รวม | 49 |
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ทั้งอำเภอ) |
1,015 |
ประวัติโรงพยาบาลแม่สะเรียง
โรงพยาบาลแม่สะเรียงได้เริ่มก่อตั้งประมาณปี พ.ศ. 2477 เรียกในสมัยนั้นว่า "สุขศาลา” ตั้งอยู่ที่ ถนนวัยศึกษา มีห้องพักเจ้าหน้าที่อยู่ในอาคารประมาณปี พ.ศ. 2488 ได้ยกฐานะเป็นสถานีอนามัยชั้น 1 มีนายแพทย์ประจำ
ในปี พ.ศ. 2504 ได้รับจัดสรรงบประมาณให้ทำการก่อสร้างเป็นสถานีอนามัยชั้น 1 ใหม่ ซึ่งบริการรับผู้ป่วยได้ประมาณ 10 เตียง และมีบ้านพักแพทย์ และเจ้าหน้าที่ จำนวน 3 หลัง และภายหลังได้รับจัดสร้างเพิ่มเติมขึ้นอีก 3 หลังต่อมาได้ยกฐานะเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย
ปี พ.ศ. 2518 ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลอำเภอ มีแพทย์ประจำ 2 คน
ปี พ.ศ. 2522 ได้ทำการย้ายที่ตั้งมาอยู่บริเวณ เลขที่ 74 หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบันนี้ เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียงได้รับจัดสรรงบประมาณให้ก่อสร้างตามแบบแปลนเลขที่ 1563 แปลนสถานีอนามัยชั้น 1 และตึกผู้ป่วยในขนาด 30 เตียง เลขที่ 2022 บนพื้นทั้งหมด 8 ไร่ 34 ตารางวา
ปี พ.ศ. 2526 ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้ใช้พื้นที่ฝั่งตรงข้ามกับโรงพยาบาลอีก 24 ไร่ ซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านพักของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลในปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2534 ได้รับจัดสรรงบประมาณโดยการแปรญัตติให้ขยายและยกฐานะเป็น
โรงพยาบาลขนาด 60 เตียง
ปี พ.ศ. 2538 ได้รับจัดสรรงบประมาณให้ขยายและยกฐานะเป็นโรงพยาบาลขนาด 90 เตียง และมีขีดความสามารถในการให้บริการผู้ป่วยได้ถึง 120 เตียง เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นมา และตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (ปี 2540 - 2544) โรงพยาบาลแม่สะเรียงได้รับการพิจารณาให้มีการพัฒนาเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่
รายนามแพทย์หัวหน้าสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง
และรายนามผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่สะเรียง
1. นายแพทย์สุวิทย์ พันธมุข | ปี พ.ศ. 2489 | สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง |
2. นายแพทย์สมพงษ์ จิตการุณ | ปี พ.ศ. 2503 | สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง |
3. นายแพทย์จิตถวัลย์ ณ ลำพูน | ปี พ.ศ. 2506 | สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง |
4. นายแพทย์สุรพล เหล่าเจริญ | ปี พ.ศ. 2509 | สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง |
5. นายแพทย์มานิตย์ ประพันธ์ศิลป์ | ปี พ.ศ. 2512 | สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง |
6. นายแพทย์ชัยวัฒน์ ศิริพงษ์ | ปี พ.ศ. 2515 | สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง |
7. นายแพทย์ชัชวาล ศิรินิรันดร์ | ปี พ.ศ. 2518 - 2521 | สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง |
8. นายแพทย์วิทยุค นามศิริพงศ์พันธ์ | ปี พ.ศ. 2522 - 2523 | โรงพยาบาล 30 เตียง |
9. นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข | ปี พ.ศ. 2524 - 2526 | โรงพยาบาล 30 เตียง |
10. นายแพทย์สุเทพ วัชรปิยานันท์ | ปี พ.ศ. 2527 - 2529 | โรงพยาบาล 30 เตียง |
11. นายแพทย์สมชาย โรจนรัตนางกูร | ปี พ.ศ. 2530 - 2534 | โรงพยาบาล 30 เตียง |
12. นายแพทย์สมเกียรติ อัครศรีประไพ | ปี พ.ศ. 2534 - 2535 | โรงพยาบาล 30 เตียง |
13. นายแพทย์ธำรง หาญวงศ์ | ปี พ.ศ. 2535 - 2542 | โรงพยาบาล 90 เตียง |
14. นายแพทย์ณรงค์ เห็นประเสริฐแท้ | ปี พ.ศ. 2542 - 2546 | โรงพยาบาล 90 เตียง |
15. นายแพทย์สุเมธ องค์วรรณดี | ปี พ.ศ. 2546 - 2548 | โรงพยาบาล 90 เตียง |
16. นายแพทย์เติมชัย เต็มยิ่งยง | ปี พ.ศ. 2548 - 2555 | โรงพยาบาล 90 เตียง |
17. นายแพทย์วรัญญู จำนงประสาทพร | ปี พ.ศ. 2555 - 2559 | โรงพยาบาล 90 เตียง |
18. นายแพทย์ทศพล ดิษฐ์ศิริ | ปี พ.ศ. 2559 - | โรงพยาบาล 90 เตียง |
อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ : โรงพยาบาลแม่สะเรียง
ประกอบด้วย | |||
1. ข้าราชการ | จำนวน | 143 | คน |
2. พนักงานราชการ | จำนวน | 9 | คน |
3. ลูกจ้างประจำ | จำนวน | 9 | คน |
4. พนักงานกระทรวง | จำนวน | 124 | คน |
5. อื่นๆ (ลจ.ชั่วคราว / จ้างเหมา / รายวัน) | 71 | ||
รวม | 356 | คน | |
โดยจำแนกเป็น |
|||
1. แพทย์ประจำ | จำนวน | 14 | คน |
- แพทย์ทั่วไป | จำนวน | 3 | คน |
- แพทย์เฉพาะทาง | จำนวน | 11 | คน |
2. ทันตแพทย์ | จำนวน | 6 | คน |
3. เภสัชกร | จำนวน | 7 | คน |
4. นักวิชาการ / จพ.การเงินและบัญชี | จำนวน | 8 | คน |
5. จพ.ธุรการ | จำนวน | 12 | คน |
6. นักวิชาการสาธารณสุข | จำนวน | 8 | คน |
7. นักเทคนิคการแพทย์ | จำนวน | 5 | คน |
8. จพ.สาธารณสุข | จำนวน | 2 | คน |
9. จพ.วิทยาศาสตร์การแพทย์ | จำนวน | 3 | คน |
10. จพ.เภสัชกรรม | จำนวน | 7 | คน |
11. นักรังสีการแพทย์/จพ.รังสีการแพทย์ | จำนวน | 2 | คน |
12. จพ.ทันตสาธารณสุข | จำนวน | 1 | คน |
13. เจ้าพนักงานเวชสถิติ | จำนวน | 2 | คน |
14. เจ้าพนักงานเวชกรรมฟื้นฟู | จำนวน | 1 | คน |
15. โภชนากร | จำนวน | 1 | คน |
16. นักโภชนาการ | จำนวน | 1 | คน |
17. นักกายภาพบำบัด | จำนวน | 2 | คน |
18. นักกิจกรรมบำบัด | จำนวน | 1 | คน |
19. พยาบาลวิชาชีพ | จำนวน | 101 | คน |
20. พยาบาลเทคนิค | จำนวน | 3 | คน |
21. นักจิตวิทยา | จำนวน | 1 | คน |
22. นักสังคมสงเคราะห์ | จำนวน | 0 | คน |
23. นักวิชาการคอมพิวเตอร์ | จำนวน | 2 | คน |
24. นักวิชาการพัสดุ | จำนวน | 1 | คน |
25. อื่นๆ | จำนวน | 111 | คน |